มนุษย์รู้จักกับพลาสติกและนำมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1968 โดย นายจอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นผลสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นพลาสติกในปัจจุบันได้ สิ่งที่นายจอห์นทำนั้นก็คือ เค้าได้ทำการผสมวัสดุชนิดหนึ่งที่ได้จากการทำปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรตกับสารการบูร และสามารถทำเป็นแผ่นบางๆ มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูง และมีความใสคล้ายกับกระจกแต่สามารถพับม้วนงอได้อย่างไม่น่าเชื่อ และได้เรียกชื่อแผ่นนั้นตามวัตถุดิบหลักที่ใช้ว่า "เซลลูโลสไนเทรต" ต่อมาได้มีการพัฒนาพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนมาเป็น "เซลลูลอยต์" (Celluloid) ที่นิยมเรียกกันในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการของการพัฒนาวัสดุประเภทพลาสติกในยุดแรกๆของวงการอุตสาหกรรมวัสดุ ที่ส่งผลให้มีการพัฒนาวัสดุประเภทพลาสติกในรูปแบบและประเภทอื่นๆตามมากอีกอย่างมากมาย
วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติก
วัตถุดิบที่สำคัญ คือ ผลิตผลที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินแร่ธาตุต่างๆ และนอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และวัสดุอินทรีบางอย่างได้ แต่ยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับปิโตรเลียม
-กระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ถือเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดสำหรับวงการอุตสาหกรรมพลาสติกทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโอเลฟิน (Olefins) เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทนและเพนเทน และสารในกลุ่มอะโรแมติก(Aromatics) เช่น เบนซีน และอนุพนธ์ของเบนซีน สารทั้ง ๒ กลุ่มสามารถนำมาผลิตมอนอเมอร์ได้หลายชนิด
– กระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติมีส่วนประกอบเป็นสารไฮโดรคาร์บอน ที่สำคัญคือ มีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทนเป็นส่วนใหญ่ สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนมอนอเมอร์และโพรไพลีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกได้อีกหลายชนิด
– กระบวนการขุดเจาะถ่านหินและลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งลิกไนต์สำคัญ ๒ แห่งคือ ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดกระบี่ ประโยชน์ของลิกไนต์ ใช้ผลิตเบนซีน และอนุพันธ์ของเบนซีน เช่น สไตรีนมอนอเมอร์ ได้เป็นอย่างดี
– กระบวนการเน่าสลายของพืชและน้ำมันพืช
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกบางชนิด ได้แก่ ส่วนต่าง ๆ ของพืชและน้ำมันพืช เช่น เซลลูโลส เชลแล็ก และกรดไขมันต่างๆ สามารถที่จะนำมาใช้ในการเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตพลาสติกได้หลายชนิดเช่นกัน
– กระบวนการขุดเจาะของเหมืองแร่ธาตุชนิดต่างๆ
สินแร่บางชนิด สามารถที่จะนำมาใช้ผลิตพลาสติกได้ เช่น ถ่านโค้ก และหินปูน เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะเซทิลีน นอกจากนี้ คลอรีนที่ผลิตได้จากน้ำทะเล ตลอดจนแร่ใยหินได้นำมาใช้สำหรับผลิตพลาสติกเสริมแรงได้เป็นอย่างดี
วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นสารไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่า มอนอเมอร์ ที่สำคัญ ได้แก่ เอทิลีน ไวนิลคลอไรด์ ไวนิลฟลูออไรด์ โพรไพลีน บิวทาไดอีน เบนซีน ไซลีน ฟีนอล ยูเรีย และฟอร์มาลตีไฮด์ ตามลำดับ
ซึ่งคุณสมบัติของแร่ธาตุและสารประกอบต่างๆก็จะมีผลต่อคุณภาพของพลาสติกที่แตกต่างกันไป ตามประเภทและการนำไปใช้งาน ซึ่งจะเอาไว้กล่าวให้ทราบในโอกาสหน้าต่อไป